Pride Month สู่ Pride Palade จากการล่าแม่มด LGBTQ+ สู่การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมของผู้คนในสังคม - didierstyle

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Pride Month สู่ Pride Palade จากการล่าแม่มด LGBTQ+ สู่การส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมของผู้คนในสังคม



Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ถูกจัดขึ้นตลอดเดือนมิถุนายนของทุกปี ปีนี้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลนี้หลายแห่งทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน และไฮไลท์ของกิจกรรมก็คือ Pride Palade และแม้ Pride Month จะสิ้นสุดลง แต่การเรียกร้องและอยากให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทุกคนมีความเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม จะยังคงดำเนินต่อไป…หากคุณวางแผนท่องเที่ยวในปีต่อๆ ไป แล้วอยากร่วมแสดงจุดยืนความหลากหลายและเท่าเทียมใน Pride Palade ของเมืองใหญ่ๆ ในโลก เตรียมตัวเองไว้ให้พร้อม !!

เหตุใด ไพรด์ พาเหรด ช่วงมิถุนายนของทุกปี ถึงเป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียม

ผู้คนหลากรุ่นหลายวัย ต่างสาขาอาชีพ ต่างรสนิยม อวดสีสันการแต่งกาย และการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์บนท้องถนน และจุดแลนด์มาร์กสำคัญๆ หลายเมืองใหญ่ทั่วโลก ระหว่างร่วมขบวนพาเหรดไพรด์ ซึ่งกลายเป็นวาระประจำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ย้ำภาพการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่มุ่งประเด็นส่งเสริมความหลากหลายทางเพศและความเท่าเทียมกันในสังคม

ยิ่งในยุคสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดียแพร่กระจายข่าวสารอย่างรวดเร็ว ภาพขบวนพาเหรดสนุกสนาน อวดความความสวิงสวายไปกับการแต่งกาย อุปกรณ์ตกแต่งร่างกายสีสันสวยงาม ทั้งดึงดูดและสะกดสายตา ผู้คน แต่ที่เหนือไปกว่าภาพงดงามเหล่านั้น คือใจความของการรณรงค์เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ และความเท่าเทียมกันของบรรดา LGBTQ+

 
ทวนกันหน่อยว่า LGBTQ+ คือใคร มีอะไรบ้าง...

แม้คุณจะเรียกผู้มีความหลากหลายทางเพศทุกคนว่า “เกย์” แบบฝรั่งว่า แต่ศัพท์สากลใช้คำว่า LGBTQ+ (แอลจีบีทีคิวพลัส) เป็นคำที่หมายถึงกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็น เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์ เควียร์ ฯลฯ

- Lesbian (เลสเบี้ยน) คือผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน

- Gay (เกย์) คือผู้ชายที่ชอบผู้ชาย แต่ความหมายดั้งเดิมคือ หมายถึงคนที่ชอบเพศเดียวกัน หรือเรียกอีกอย่างว่า Homosexual

- Bisexual (ไบเซ็กชวล) คือคนที่ชอบทั้งผู้ชาย และผู้หญิง

- Transgender (ทรานเจนเดอร์) คือคนข้ามเพศ เช่น ผู้หญิงที่มีจิตใจเป็นผู้ชาย หรือผู้ชายที่มีจิตใจเป็นผู้หญิง ที่เราเรียกสั้น ๆ ว่าทรานส์ และปรับเปลี่ยนเพศสภาพไปตามจิตใจ

- Queer (เควียร์) คือการเรียกกว้างๆ โดยหมายถึงกลุ่มคนที่ไม่ได้มีเพศตามคนในสังคมทั่วไป และไม่จำกัดกรอบ

- ส่วนพลัส ที่บวกเพิ่มเติมมานอกจากนี้ อาทิ IAN คือ I = Intersex (อินเตอร์เซ็กซ์) - ผู้ที่มีภาวะเพศกำกวม ระบุเพศไม่ได้ มีลักษณะทางกายภาพแตกต่าง A = Asexual (อะเซ็กซวล) - ผู้ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศ แต่มีรักโรแมนติกและเพศสัมพันธ์ได้ N = Non-Binary (น็อน-ไบนารี่) - ผู้ที่ไม่ต้องการระบุเพศของตัวเอง ไม่จำกัดอยู่ที่เพศชายหรือหญิง หรือภาษาปากว่า ไม่มีเพศ


ที่มาและความหมายของธงหลากสี

สัญลักษณ์ธงหลากสี หรือติดปากเรียกันว่าธงสีรุ้งที่เราคุ้นตาในขบวนพาเหรด pride month มายังไง สีรุ้งที่มาเป็นสัญลักษณ์ของคนกลุ่มนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากการออกแบบธงสีรุ้งของ Gilbert Baker ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978 ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากธงชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี ในปี 1976 โดยในแรกเริ่มธงนี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 สี ได้แก่ สีชมพู ฮอตพิงก์ ที่มีความหมายสื่อถึงเรื่องเพศ สีแดง หมายถึงชีวิต สีส้ม หมายถึงการเยียวยา สีเหลือง หมายถึงแสงอาทิตย์ที่ส่องสว่าง สีเขียว หมายถึงธรรมชาติ สีฟ้า เทอร์ควอยต์ หมายถึงเวทมนต์ สีน้ำเงิน หมายถึงความสามัคคี สีม่วง หมายถึงจิตวิญญาณอันแน่วแน่ ในภายหลังถอดสีฮอตพิงก์และเทอร์ควอยต์ออก เพราะยากต่อการผลิตและนำไปสื่อสาร จึงเหลือเพียง 6 สีที่เราคุ้นตา แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน ม่วง


กำเนิด Pride month สู่ Pride Palade

Pride month มีจุดเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา ช่วงยุค 60-70s กลุ่มชาว LGBTQ+ ถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีจิตผิดปกติ ไม่ได้ยอมรับจากสังคม และผิดกฎหมาย พวกเขาจึงมักรวมตัวกันที่ ‘บาร์ลับ’ หรือ ‘บาร์เฉพาะกลุ่ม’ และแม้จะความพยายามผลักดันให้สถานที่ถูกกฎหมายแต่ก็ไม่สำเร็จ กระทั่งในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กลุ่ม LGBTQ+ รวมตัวกันแสดงออกถึงตัวตนความหลากหลายทางเพศ ณ บาร์เล็กๆ Stonewall Inn แต่ถูกตำรวจบุกเข้าจับกุม และเกิดปะทะกันอย่างรุนแรง

จากเหตุการณ์นั้น ผู้คนออกมาชุมนุม ต่อต้านอยู่หลายวัน กลายเป็นประเด็นนำสู่การเปลี่ยนแปลงในภาคสังคม ปี 1970 ผู้คนในสหรัฐอเมริกาต่างออกมาเดินขบวนเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์จลาจลในครั้งนั้น ทำให้เดือนมิถุนายนกลายเป็นเดือนแห่งความเฉลิมฉลองเพื่อความเท่าเทียมเทียมของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ Pride month จนปัจจุบันได้กลายเป็น ขบวนพาเหรดไพรด์ที่จัดขึ้นในหลายประเทศ


จากความรุนแรงสู่ พาเหรดใน Pride Month สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของขบวนการขับเคลื่อนเพื่อความเท่าเทียม ทำให้ผู้ถูกเลือกปฏิบัติในสังคมทางใดทางหนึ่ง หมายรวมไปถึงคนต่างสีผิว ต่างเชื้อชาติ ต่างกันในทางใดทางนึงในสังคมได้มีพื้นที่แสดงออก ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ได้ทั้งสิ้น

Pride Month ไม่ได้เป็นแค่เรื่องการเฉลิมฉลอง และความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ลึกๆ แล้วมันเป็นการเรียกร้องและอยากให้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม ทุกคนมีความเท่าเทียม และมีคุณค่าของความเป็นมนุษย์เหมือนกัน และให้ทุกคนเกิดความเห็นอกเห็นใจ

หากคุณวางแผนท่องเที่ยวในปีต่อๆ ไป แล้วอยากร่วมแสดงจุดยืนความหลากหลายและเท่าเทียมใน Pride Palade ของเมืองใหญ่ๆ ในโลก NYC Pride นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาEuroPride & Pride Week เวียนนา ออสเตรีย Madrid Gay Pride มาดริด สเปน Amsterdam Gay Pride อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ Mexico City Gay Pride เม็กซิโกซิตี้ เม็กซิโก Stockholm Pride สต็อกโฮล์ม สวีเดน Tel Aviv Gay Pride เทลอาวีฟ อิสราเอล Dublin Gay Pride ดับลิน ไอร์แลนด์ Tokyo Rainbow Pride โตเกียว ญี่ปุ่น Taiwan LGBT Pride ไทเป ไต้หวัน Metro Manila Pride มะนิลา ฟิลิปปินส์


การเปิดงาน Bangkok Pride Parade 2023 มีตัวแทนกลุ่มความหลากหลายทางเพศได้ขึ้นกล่าวความรู้สึก พร้อมร่วมไว้อาลัยและเปิดไฟฉายให้กับกลุ่มหลากหลายทางเพศที่เสียชีวิตทั่วโลกเป็นเวลา 10 นาทีด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศมีต่อเนื่องไปตลอดเดือนมิถุนายน ซึ่งในทุกๆ ปี จะเป็นเดือนสำคัญของเหล่า LGBTQ+ ทั่วโลกที่จะได้ออกมาทำกิจกรรมสนุกสนานรื่นเริง

พาเหรดครั้งนี้ บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การดำเนินงานโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช โรงพยาบาลศัลยกรรมความงามชั้นนำของประเทศไทย หนึ่งในภาคเอกชนที่เล็งเห็นความสำคัญของความเท่าเทียม สนับสนุนความหลากหลายทางเพศของผู้คนในสังคม ร่วมขบวน Bangkok Pride Parade 2023 ครั้งนี้ด้วยความสดชื่น สดใส และเปี่ยมพลังไปพร้อมๆ กับหลายองค์กร


รองซีอีโอ มาสเตอร์ ประกาศ LGBTQ+ พร้อมรับคำขอแต่งงานจากแฟนสาว

ระหว่างพาเหรดครั้งนี้แม้ผู้บริหารหญิงเก่งอย่าง ดาว - ลภัสรดา เลิศภานุโรจ รอง CEO ของมาสเตอร์ ไม่ได้อยู่ในขบวนไพรด์ แต่ก็แว่วข่าวดังไปทั่วโซเชียลมีเดีย หลังประกาศตัวว่าเป็น LGBTQ นอกจาก Lucky in Game แล้วยัง Lucky in Love ด้วย เพราะล่าสุดผู้บริหารหญิงเก่งโดนเซอร์ไพร์สขอแต่งงานจากแฟนสาว จุ๋ม-จิญรัช ภัทรวรนิชท์ ต้อนรับ Pride Month โดยทั้งคู่คบหาดูใจกันมานาน 19 ปี ทำเอาทะเลหัวหินหวานเชื่อมกันเลยทีเดียว กำลังใจมาเต็มขนาดนี้ ทั้งรักเปรี้ยง งานปัง ปีนี้เราคงได้เห็น MASTER มีผลงานเติบโตแบบก้าวกระโดดแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Pages