
จังหวัดหนองคาย เมืองในตำนานเลื่องชื่อเรื่อง “พญานาค” มีประเพณีบุญบั้งไฟและสถานที่ท่องเที่ยวตำนานมากมาย ด้วยความอัศจรรย์ของเกาะแก่งกลางลำน้ำโขง จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตที่ไม่ว่าใครจะต้องมาเยือน ซึ่งวันนี้เราจะพาเลาะริมโขง สักการะหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปคู่เมืองหนองคาย พระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสีสุก ที่ “วัดโพธิ์ชัย” ถนนประจักษ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพระใส จึงเกิดเป็นแรงศรัทธาของชาวหนองคาย และผู้คนลุ่มน้ำโขง
สำหรับ “วัดโพธิ์ชัย” เดิมชื่อ “วัดผีผิว” เนื่องจากวัดนี้เคยใช้เป็นที่เผาผีหรือเผาศพ และว่ากันว่ามีผีดุ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “วัดโพธิ์ชัย” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แล้วยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2524
ปัจจุบัน เป็นสถานที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระใส” ซึ่งมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง สร้างโดยพระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนามพระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า “พระสุก” ประจำพระธิดาคนโต “พระเสริม” ประจำพระธิดาคนกลาง และ “พระใส” ประจำพระธิดาคนสุดท้อง ซึ่งมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ซึ่งการประดิษฐานหลวงพ่อพระใสนั้น เดิมทีหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2321 สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ “วัดโพนชัย” เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย
ปัจจุบัน เป็นสถานที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อพระใส” ซึ่งมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง สร้างโดยพระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนามพระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า “พระสุก” ประจำพระธิดาคนโต “พระเสริม” ประจำพระธิดาคนกลาง และ “พระใส” ประจำพระธิดาคนสุดท้อง ซึ่งมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ซึ่งการประดิษฐานหลวงพ่อพระใสนั้น เดิมทีหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ.2321 สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ “วัดโพนชัย” เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฏ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย
โดยอัญเชิญมาจาก “ภูเขาควาย” ขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"
การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุด “พระสุก” ได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็ยังเหลือแต่ พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย โดย “พระเสริม” นั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วน “พระใส” ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุด “พระสุก” ได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
ก็ยังเหลือแต่ พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย โดย “พระเสริม” นั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วน “พระใส” ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น