จากการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 พ.ย. 2563 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยเสนอให้มีการพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ซึ่งเกิดประเด็นข้อขัดแย้งหลังจากการที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้นำผลการศึกษาของกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ลงวันที่ 10 พ.ย. 2563 และเพิ่งมีการนำเสนอก่อนการประชุม ครม.ขึ้นมาคัดค้าน จนทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องถอนเรื่องกลับไปทบทวน หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนนำมาเสนออีกครั้ง
ทั้งนี้ ในการประชุม ครม. 13
สิงหาคม 2563 ได้มีการเสนอในเรื่องดังกล่าวก่อนหน้านี้ ซึ่ง นายศักดิ์สยาม
ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไม่มีท่าทีคัดค้านในร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯดังกล่าว
ทำให้มีคำถามเกิดขึ้นกรณีที่ นายศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม และ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย
มีความเห็นคัดค้านดังกล่าวเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมจริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวมีการประชุมหาข้อสรุปจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแล้วหลายรอบ
โดยกระทรวงการคลังได้มีเอกสารสรุป ลงวันที่ 16 พ.ย. 2563 ว่า
กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการมาตามลำดับขั้นตอน และกระทรวงคมนาคม
ในฐานะที่เป็นหน่วยงานนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาได้เห็นชอบโครงการนี้มาตั้งแต่แรกเริ่ม
ทว่าการติดขัดในช่วงนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
จาก นายปรีดี ดาวฉาย มาเป็น นายอาคม
เติมพิทยาไพสิฐ ทำให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องขอความเห็นจากกระทรวงการคลังอีกครั้ง
ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม.วันที่ 13 ส.ค. 2563 ซึ่งกระทรวงการคลังยังคงยืนยันให้ความเห็นชอบตามเดิม
จากที่ทุกหน่วยงานเคยลงมติรับทราบผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ
ในโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวมาก่อนหน้า รวมถึงกระทรวงคมนาคมที่เคยเสนอผลการพิจารณารายงานผลการศึกษาฯ
ตามหนังสือกระทรวงคมนาคม ด่วนที่สุด ที่ คค (ปคร) 0202/192 ลงวันที่ 4 มิ.ย. 2563 ให้ที่ประชุม ครม.รับทราบไปแล้ว และที่ประชุม
ครม. วันที่ 13
ส.ค. 2563
เคยรับทราบผลการพิจารณาตามรายงานสรุปของกระทรวงมหาดไทยไปแล้ว
ดังนั้น โครงการขยายสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ
บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ได้ผ่านความเห็นชอบของทุกหน่วยงานแล้ว
จึงพร้อมเข้าเสนอขอมติที่ประชุม ครม.อนุมัติในวันที่ 17 พ.ย.
2563
ดังนั้น กรณี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
และเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ที่ออกมาคัดค้านโครงการดังกล่าว
ทำให้มีประเด็นเบื้องหลังหรือมีผลประโยชน์สอดแทรกหรือไม่ หรือมีประเด็นปมขัดแย้งอื่นๆ
ที่ทำให้กระทรวงคมนาคม
และพรรคภูมิใจไทยเปลี่ยนจุดยืนในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม เพราะผลกระทบหนึ่งที่เกิดขึ้นทันที ก็คือ
กรุงเทพมหานคร โดย พล.ต.อ.อัศวิน
ขวัญเมือง ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.)
ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว ระบุว่า กทม.มีปัญหาในการจัดการกับหนี้ค้างจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าให้
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือบีทีเอสซี ตั้งแต่ปี 2561 เป็นเงินกว่า 8,000
ล้านบาท และหากไม่มีเงินจ่าย มีโอกาสที่บีทีเอส ในฐานะบริษัทเอกชน
อาจจำเป็นต้องหยุดวิ่งให้บริการเพราะไม่อาจแบกรับภาระขาดทุนแทนภาครัฐได้ และตามแผนการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว
รวมส่วนต่อขยาย ระยะทาง 68.25 กิโลเมตร จะเปิดให้บริการครบทั้ง 59
สถานีอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปี 2563 นี้อีกด้วย
ทำให้ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธาน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ต้องออกมายืนยันด้วยตัวเอง เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ว่า ถึงแม้จะเกิดปัญหาใดๆ แต่ บีทีเอสขอรับผิดชอบ ให้บริการเดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายต่อไป โดยไม่ทิ้งผู้โดยสารไว้ข้างหลัง จนกว่าจะมีความชัดเจน ในส่วนของ ผลการพิจารณา ของ คณะรัฐมนตรี ซึ่งก็มั่นใจ ว่า จะไม่มีปัญหา แต่อย่างใด เพราะทุกอย่าง เดินมาด้วยความถูกต้อง ชอบธรรม ตามขั้นตอน ทางกฎหมาย และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้ให้ ความร่วมมือกันอย่างดี ในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ และโดยส่วนตัว ไม่คิดที่ จะเอาเปรียบ รัฐ หรือ ประชาชน จึงได้ พยายาม แบกรับ ภาระการให้ บริการด้วยดี มาเกือบ 2 ปี
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ลุกขึ้นมาคัดค้านเรื่องที่เดิมเคยให้ความเห็นไปก่อนแล้ว เป็นการกระทำที่ย้อนแย้ง และมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องลึกหรือไม่ และกำลังถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการนำกลไกทางการเมืองเข้าขัดขวางแผนการลงทุนของบริษัทเอกชน "บีทีเอส" ที่กำลังมีข้อพิพาทกับกระทรวงคมนาคมหรือไม่
จึงต้องจับตาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจในประเด็นนี้อย่างไร เนื่องจากนายกฯ เองได้รับรู้มาตั้งแต่ต้นว่าเรื่องสัญญาสายสีเขียวมีผลสรุปร่วมของทุกหน่วยงานที่ให้ความเห็นชอบ ร่างสัญญาร่วมลงทุนขยายสัมปทานรถไฟฟ้าให้กับบีทีเอสแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น